พบว่าทางเดินที่ปัจจุบันใช้อยู่ทุกวัน มีพาร์ทที่เกลียดที่สุดคือหน้าร้านลุงเหี้ย ซึ่งมันมี 2 ทางให้เลือกเดิน ระหว่าง
1. เดินบนถนน เสี่ยงรถเฉี่ยว
2. เดินซอกสะพานลอยที่แคบมากเดินผ่านได้ทีละ 0.75 คน (คนเดียวยังต้องเดินแบบตัวลีบๆ) ซึ่ง "บ้าน" ลุงเหี้ยตั้งอยู่ บนร้านอาหาร ขายเบียร์ด้วย 24 hrs. เวลาเดิน จะอึดอัดใจทุกครั้ง ว่าจะเลือกทางไหน
(หมายเหตุ: ร้านลุงเหี้ย ; ลุงเหี้ย เป็นฉายาของแก ใครๆ ก็เรียกแกอย่างนั้น ไม่ทราบที่มา เรียกต่อๆ กันมาตั้งแต่รุ่นพี่ สอนรุ่นน้อง)
ถ้าพูดแบบใจร้ายนิดนึง ลุงเหี้ยควรไปขายของที่อื่น และย้ายบ้านออกจากตรงนั้นซะ ซึ่งมั่นใจ 100% ว่ามันเป็นที่สาธารณะ
ถ้าพูดแบบใจดี ก็บอกว่า นั่นเพื่อนร่วมโลกเรานะ เค้าไม่มีบ้านอยู่ ก็ให้เค้าอยู่ตรงนั้นเถิด แต่ผมคิดว่าแกมีตังค์นะ ตรงนั้นทำเลดีที่จะขายของ / สร้างเพิงอยู่ พอดีไง
เรื่องนี้ไม่มีข้อสรุป คงต้องจบแบบให้คิดต่อ ตีความเอง (หรือรอภาคต่อ) สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการสงสาร อะไรก็หยวนๆ กันไป กฎระเบียบไม่ค่อยมีความหมาย ติดเป็นนิสัย
นานๆ นิสัยนั้นถูกฟูมฟัก เจริญงอกงาม กลายเป็น...
1. เดินบนถนน เสี่ยงรถเฉี่ยว
2. เดินซอกสะพานลอยที่แคบมากเดินผ่านได้ทีละ 0.75 คน (คนเดียวยังต้องเดินแบบตัวลีบๆ) ซึ่ง "บ้าน" ลุงเหี้ยตั้งอยู่ บนร้านอาหาร ขายเบียร์ด้วย 24 hrs. เวลาเดิน จะอึดอัดใจทุกครั้ง ว่าจะเลือกทางไหน
(หมายเหตุ: ร้านลุงเหี้ย ; ลุงเหี้ย เป็นฉายาของแก ใครๆ ก็เรียกแกอย่างนั้น ไม่ทราบที่มา เรียกต่อๆ กันมาตั้งแต่รุ่นพี่ สอนรุ่นน้อง)
ถ้าพูดแบบใจร้ายนิดนึง ลุงเหี้ยควรไปขายของที่อื่น และย้ายบ้านออกจากตรงนั้นซะ ซึ่งมั่นใจ 100% ว่ามันเป็นที่สาธารณะ
ถ้าพูดแบบใจดี ก็บอกว่า นั่นเพื่อนร่วมโลกเรานะ เค้าไม่มีบ้านอยู่ ก็ให้เค้าอยู่ตรงนั้นเถิด แต่ผมคิดว่าแกมีตังค์นะ ตรงนั้นทำเลดีที่จะขายของ / สร้างเพิงอยู่ พอดีไง
เรื่องนี้ไม่มีข้อสรุป คงต้องจบแบบให้คิดต่อ ตีความเอง (หรือรอภาคต่อ) สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการสงสาร อะไรก็หยวนๆ กันไป กฎระเบียบไม่ค่อยมีความหมาย ติดเป็นนิสัย
นานๆ นิสัยนั้นถูกฟูมฟัก เจริญงอกงาม กลายเป็น...